วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ขนมไทย ในแต่ละภาค

ขนมไทย ในแต่ละภาค
 

ขนมไทยภาคเหนือ
 
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม]
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด

ขนมวง                                                         ขนมต้มหัวหงอก
 


 
 
 
ขนมไทยภาคกลาง
    
ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ขนมกลีบลำดวน ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
 
ข้าวงตัง

ขนมไทยภาคอีสาน
  
    เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)

ข้าวจี่                                                                               ข้าวโป่ง
                   
 
ขนมไทยภาคใต้

   ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่



      • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
      • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
      • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
      • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
      • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
      • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
      • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
      • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
      • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
      • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
      • ขนมดาดา เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ใช้ในโอกาสเดียวกับฆานม ประกอบด้วยข้าวเจ้า ข้าวเหนียวผสมน้ำบดให้ละเอียด นำไปละเลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ พับให้เป็นแผ่น กินกับน้ำตาลเหลว
      • ขนมกรุบ นิยมทำกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำอุ่น นำไปรีดให้แผ่บางบนใบตอง นำไปนึ่งแล้วตากแดดให้แห้ง แล้วทอดให้กรอบคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวเป็นยางมะตูม
             
          ขนมหน้าไข่                   ขนมกอแหละ
         
         
         
         





                         

         




         

         
        

        บัวลอย ของหวานประจำชาติไทย

        บัวลอย


        ตำนานขนมของภรรยาที่รักสามี ด้วยชีวิต

        จากเมื่ออดีตกาลนานมาแล้วมีสตรีตั้งท้องคนหนึ่งชื่อ “บัว”ต้องการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผัวโดยการทำขนมขาย แม้ผัวจะห้ามปามอย่างไรก็ไม่ฟัง เมื่อผัวไปทำงานก็จะทำขนมใส่เรือแล้วพาย ไปขายในคลอง ชาวบ้านที่จะซื้อก็จะตะโกน“บัวจ้า..บัวลอยมาทางนี้หน่อย" และด้วยขนมทำจากกระทิ เมื่อทำเสร็จแล้วก็เอาลงเรือขายเลยประกอบกับฝีมือการทำขนม ที่มีความอร่อยจนติดอกติดใจชาวบ้าน จนใครๆก็เรียกเธอว่า “บัวลอย”
        วันหนึ่งเมื่อผัวกลับจากทำงานไม่เห็นเมียสุดที่รัก จึงพายเรือตามหานางบัวพร้อม กับร้องตะโกนว่า “บัวลอย บัวลอย” แต่ก็ไม่พบแม้แต่เรือของเธอ หลังจากนั้นไม่นานก็มีคน พบศพเธอลอยไปติดอยู่ที่ท่าเรือของวัดในคลองจึงมีการนำขึ้นมาทำพิธีตามศาสนาและด้วย ความเชื่อของคน ไทยที่ว่า ถ้าตายท้องกลมผีจะเฮี้ยนจึงไม่ได้มีการเผาแต่แค่ฝั่งเอาไว้ และ มีบางคนมาขอหวยปรากฎว่าถูกจนโด่งดังไปทั่วผู้คนถูกหวยเป็นว่าเล่น
        แต่แล้วเช้าวันหนี่งศพของนางบัวก็หายไป คาดว่าเจ้ามือหวยคงมาทำการขุดศพเอาไปทิ้งและสะกดวิญญาณไว้ หลังจากนั้นตำนานบัวลอย ก็เริ่มถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา แต่นี้เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมาของคลองบางกอกน้อย และได้มีการนำมาทำ เป็นเพลง ดังเพลง บางกอกน้อยที่ ครู ศรเพชร ศรสุพรรณ ได้นำมาขับร้อง
         
         
         
         

        สูตรการทำ บัวลอยเบญจรงค์มะพร้าวอ่อน-ไข่นกกระทาหวาน

         

        ส่วนผสม

            
           ตัวแป้ง
        แป้งข้าวเหนียว 9 ส่วน : แป้งมัน 1 ส่วน
        1. หัวกะทิสด
        2. น้ำตาลมะพร้าว
        3. น้ำตาลทราย
        4. ไข่นกกระทา
        5. มะพร้าวอ่อน
        6. เกลือป่น
        7. ใบเตย แครอท ฟักทอง น้ำหวานสีแดง

        วิธีทำ

         
             วิธีทำตัวแป้ง
        แป้งสีส้ม ด้จากแครอท
        1.หั่นแครอทเป็นลูกเต๋าเล็ก ต้มในน้ำเดือดจนนิ่ม นำออกมาพักให้สะเด็ดน้ำ
        2.ยีหรือบี้แครอทในกระชอนถี่ ให้เนื้อทะลุออกมา ตักเอาเฉพาะเนื้อแครอทที่ทุลุออกมาจากกระชอน
        3.ผสมแป้งข้าวเหนียว+แป้งมัน(อัตรา 9:1ส่วน)
        4.ค่อย ๆ เติมกะทิลงในแป้ง นวดพอติดเป็นก้อนนิด ๆ แล้วนำเนื้อแครอทมาผสม กะให้ผสมแล้วแป้งเหนียวพอดี นวดจนแป้งเหนียว พักไว้
         
        แป้งสีเหลือง ได้จากฟักทอง
        1.ปอกเปลือกฟักทอง หั่นฟักทองเป็นลูกเต๋าเล็ก ต้มในน้ำเดือดจนนิ่ม นำออกมาพักให้สะเด็ดน้ำ
        2.ยีหรือบี้ฟักทองในกระชอนถี่ ให้เนื้อทะลุออกมา ตักเอาเฉพาะเนื้อฟักทองที่ทุลุออกมาจากกระชอน
        3.ผสมแป้งข้าวเหนียว+แป้งมัน(อัตรา 9:1ส่วน)
        4.ค่อย ๆ เติมกะทิลงในแป้ง นวดพอติดเป็นก้อนนิด ๆ แล้วนำเนื้อฟักทองมาผสม กะให้ผสมแล้วแป้งเหนียวพอดี นวดจนแป้งเหนียว พักไว้
         
        แป้งสีเขียว ได้จากใบเตย
        1.หันใบเตย 4-5 ใบพอหยาบ ๆ นำไปตำให้ละเอียด เติมน้ำ 1-2 ชต.บีบและคั้นเอาแต่น้ำ
        2.ผสมแป้งข้าวเหนียว+แป้งมัน(อัตรา 9:1ส่วน)
        4.ค่อย ๆ เติมกะทิลงในแป้ง และน้ำใบเตย 1.5 ชต. นวดจนแป้งเหนียว พักไว้
         
        แป้งสีแดง ได้จากน้ำหวานสีแดง
        1.ผสมแป้งข้าวเหนียว+แป้งมัน(อัตรา 9:1ส่วน)
        2.ค่อย ๆ เติมกะทิลงในแป้ง และน้ำหวานสีแดง 1 ชต. นวดจนแป้งเหนียว พักไว้
         
        แป้งสีขาว
        1.ผสมแป้งข้าวเหนียว+แป้งมัน(อัตรา 9:1ส่วน)
        2.ค่อย ๆ เติมกะทิลงในแป้ง นวดจนแป้งเหนียว พักไว้

                วิธีต้มเม็ดบัวลอย
        1.นำแป้งแต่ละสี มาปั้นขนาดเท่าลูกมะเขือพวง หรือขนาดตามชอบ โดยโรยแป้งมันไว้ที่ภาชนะที่รอง ละมือเพื่อกันแป้งติดมือ
        2.ตั้งน้ำเปล่าให้เดือด
        3.ใส่แป้งที่ปั่นแล้วลงไป ในขณะน้ำเดือดแรง รอเวลา 2-3 นาที ให้เม็ดบัวลอบ ลอยขึ้นมาที่ผิว
        4.เมื่อลอยแล้ว รอีก 30 วินาที แล้วตักเม็ดบัวลอย ลงแช่ในน้ำเย็น และตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ พักไว้
         
              วิธีทำไข่หวาน
        1.ตั้งนำใส่น้ำตาลทราย น้ำ 0.5 ลิตร น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
        2.รอให้น้ำตาลละลายและเดือด
        3.ตอดไข่นกกระทาใส่ลงไป ระวังอย่าให้แตก
        4.รอ 3-4 นาที ให้ไข่สุก ตักไข่แยกจากน้ำให้ถ้วย (การต้มไข่หวานแยก เพื่อป้องกันกลิ่นคาวหากต้มไปพร้อมกับบัวลอย)
          
             วิธีต้มน้ำบัวลอย
        1.ผ่ามะพร้าว เอาน้ำไว้ และขูดเนื้อมะพร้าวแยกไว้
        2.ตั้งน้ำมะพร้าว 1-2 ลูก ใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไป คนให้ละลายและเดือด (ระวังอย่าใส่น้ำตาลมาก จะหวานเกิน)
        3.นำหัวกะทิใส่ลงไป คนอย่าให้แตกมัน เมื่อเริ่มเดือด ให้นำเนื้อมะพร้าว และเม็ดบัวลอย มาใส่ลงไป
        4.คอยคนให้เม็ดบัวลอยแตกตัว และใส่เกลืป่นลงไปเล็กน้อย(0.5ชช.หรือตามชอบ) ชิมรสตามชอบ
        5.คอยคนจะเดือด ปิดไฟ
        ตักบัวลอยใส่ถ้วยหรือลูกมะพร้าว ตักไข่หวานไว้ด้านบน
         
        ตักใส่ถ้วยเสริฟ
         
         
         
        

        ของหวานประจำชาติอาเซียน

        ของหวานประจำชาติ 10 ประเทศในอาเซียน

         

        Brunei

        กล้วยแขก ของหวานประจำชาติ บรูไน

         
         
        กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ประวัติและที่มาของกล้วยแขกทอด ไม่ทราบแน่ชัด แต่กล้วยแขกน่าจะเป็นอาหารที่มาจากวัฒนธรรมการปรุงอาหารของชาวอินเดีย ซึ่งจะใช้การทอด เหมือนกับถั่วทอด ซึ่งแตกต่างกับวัฒนธรรมการปรุงอาหารของไทย ซึ่งใช้ต้ม ปิ้ง ย่าง เป็นหลัก เช่น กล้วยบวชชี กล้วยต้มมะพร้าวขูดโรยน้ำตาล กล้วยปิ้ง ขนมกล้วยที่ต้องห่อใบตองย่าง บ้างก็ว่าเป็นขนมที่ชาวโปตุเกตุนำเข้ามาประเทศไทย เลยยังเป็นข้อถกเถียงกันเรื่อยมา ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้
         

        Cambodia

         กระยาสารท ของหวานประจำชาติ กัมพูชา

         

         
        กระยาสารท แปลว่าอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำาตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน ้าอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน
         

        Indonesia

        วุ้นมะพร้าว ของหวานประจำชาติ อินโดนีเซีย

         


        วุ้นมะพร้าว หรือ วุ้นสวรรค์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “NATA de coco” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกระบวนการหมักน้ำมะพร้าว ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยกิจกรรมของแบคทีเรียกรดน้ำส้ม (Acetic acid bacteria) ที่พบได้ทั่วไปในการทำน้ำส้มสายชูหมักตามธรรมชาติ  แบคทีเรียกรดน้ำส้มนี้มีชื่อเรียกว่า Acetobacter xylinum  ผลผลิตจากกระบวนการหมักของแบคทีเรียกรดน้ำส้มนี้คือ โพลิแซคคาร์ไรด์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “วุ้นน้ำมะพร้าว (วุ้นสวรรค์)” นั้นเอง  แผ่นวุ้นนี้เป็นเซลลูโลส (Bacterial cellulose) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสเรียงต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะเบต้า -1,4 ไกลโคซิดิค (B-1,4 glycosidic bond) และกรดน้ำส้ม (กรดอะซิติก) ซึ่งมีรสเปรี้ยว
         
        

        Lao

        น้ำตาลอ้อย ของหวานประจำชาติ ลาว

         
         
        น้ำตาลอ้อยผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะขนมท้องถิ่นต่างๆล้วนใช้น้ำตาลจากอ้อย เช่น ขนมกระยาสารทที่ต้องใช้น้ำอ้อยกวนจึงจะหอมอร่อย ขนมวงทราราดนห้าด้วยน้ำตาลอ้อยเคี่ยวจนเหนียว เช่นเดียวกับขนมนางเล็ดหรือข้าวแต๋น และขนมเทียน ขนมเข่ง ขนมต้ม ข้าวเหนียวแดง ฯลฯ ก็ใช้น้ำตาลอ้อยเพิ่มรสชาติและความหอม
         
        

        Malaysia

        โรตี ของหวานประจำชาติ มาเลเซีย

         

         
        
        โรตี เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง นวดแล้วนำไปทอดหรือปิ้งเป็นแผ่นบางๆ รับประทานเป็นของหวาน หรือรับประทานพร้อมอาหารคาวอื่นๆ ก็ได้ ในประเทศไทยมักจะคุ้นกับโรตีที่ทอดเป็นแผ่นนุ่ม ราดด้วยนมข้นและน้ำตาลทราย เป็นของหวาน
                    คำว่า โรตี เป็นคำศัพท์ที่พบได้ในหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฮินดี, อุรดู, ปัญจาบี, โซมาลี, อินโดนีเซีย และ มลายู ซึ่งล้วนแต่มีความหมายว่า ขนมปัง


        

        Myanmar

         ข้าวต้มมัด ของหวานประจำชาติ พม่า

         



        ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย 
         
        ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย


        

        Philippines

        เวลลาติ ของหวานประจำชาติ ฟิลิปปินส์

         
         
         
        จานเด็ดของชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ไข่บาลุท แต่รับประกันได้ว่าไม่น่าสะอิดสะเอียน ทั้งนี้ ฮาโล ฮาโล ไม่มีสูตรการทำที่แน่นอน แต่ดูๆไปก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำแข็งใสของบ้านเรา โดยนำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา

        Singapore

         ลอดช่องสิงคโปร์ ของหวานประจำชาติ สิงคโปร์

         

         

        ลอดช่อง.. .เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่หลายคนคงสงสัยว่าแล้วคำว่า สิงคโปร์ล่ะ มาจากไหน ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันจนติดปาก ถึงบริเวณที่ตั้งร้านนี้ ที่เป็นเจ้าแรก ในการทำ “ลอดช่องสิงคโปร์” นั่นเอง หากย้อนไปเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ร้านนี้บังเอิญไปตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงภาพยนต์สิงคโปร์ (เดิม) หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช และเมื่อลูกค้าจะไปทานก็มักจะเรียกว่า “ไปทานลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์” สุดท้ายก็เรียกให้สั้นลงว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” แทน

        
        

        Vietnam

        ขนมเบื้องญวน ของหวานประจำชาติ เวียดนาม

         
         
        ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมี 2 แบบคือขนมเบื้องไทย โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้กุ้งแม่น้ำตัวโตสับละเอียดผสมกับพริกไทยและผักชีตำพร้อมมันกุ้ง นำไปผัดใส่น้ำตาล น้ำปลาหรือเกลือให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้ามะพร้าวใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม ฝอยทองและพลับแห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับกระเทียม พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่พริกขี้หนู นำไปรวนพอสุก ขนมเบื้องญวน เป็นขนมที่เข้ามาพร้อมกับเชลยชาวญวนในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งถูกกวาดต้อนมาระหว่างสงครามสยาม-เวียดนาม ขนมนี้ทำจากแป้งละลายกับไข่ให้ข้น ตักแป้งเทลงในกระทะที่ทาน้ำมันไว้ แผ่เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้แล้วพับกลาง
         

        Thailand

        บัวลอย ของหวานประจำชาติ ไทย

         
         
        ตำนานบัวลอย จะว่ามีที่มาจากขนมบัวลอยก็ไม่เชิง แต่จะว่าไม่ใช่ก็ไม่ได้เหตุเกิด จากเมื่ออดีตกาลนานมาแล้วมีสตรีตั้งท้องต้องการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผัวโดยการทำขนมขาย แม้ผัวจะห้ามปราอย่างไรก็ไม่ฟัง เมื่อผัวไปทำงานก็จะทำขนมบัวลอยใส่เรือแล้วพาย ไปขายในคลอง ชาวบ้านที่จะซื้อก็จะตะโกน
          “บัวลอยจ้า..บัวลอยมาทางนี้หน่อย" และด้วยขนมบัวลอยทำจากกระทิ เมื่อทำเสร็จแล้วก็เอาลงเรือขายเลยประกอบกับฝีมือการทำขนม บัวลอยที่มีความอร่อยจนติดอกติดใจชาวบ้าน จนใครๆก็เรียกเธอว่า

         “บัวลอย”



         
        ที่มา http://board.postjung.com/734281.html