ของหวานประจำชาติ 10 ประเทศในอาเซียน
Brunei
กล้วยแขก ของหวานประจำชาติ บรูไน
กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ประวัติและที่มาของกล้วยแขกทอด ไม่ทราบแน่ชัด แต่กล้วยแขกน่าจะเป็นอาหารที่มาจากวัฒนธรรมการปรุงอาหารของชาวอินเดีย ซึ่งจะใช้การทอด เหมือนกับถั่วทอด ซึ่งแตกต่างกับวัฒนธรรมการปรุงอาหารของไทย ซึ่งใช้ต้ม ปิ้ง ย่าง เป็นหลัก เช่น กล้วยบวชชี กล้วยต้มมะพร้าวขูดโรยน้ำตาล กล้วยปิ้ง ขนมกล้วยที่ต้องห่อใบตองย่าง บ้างก็ว่าเป็นขนมที่ชาวโปตุเกตุนำเข้ามาประเทศไทย เลยยังเป็นข้อถกเถียงกันเรื่อยมา ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้
Cambodia
กระยาสารท ของหวานประจำชาติ กัมพูชา
กระยาสารท แปลว่าอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำาตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน ้าอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน
Indonesia
วุ้นมะพร้าว ของหวานประจำชาติ อินโดนีเซีย
วุ้นมะพร้าว หรือ วุ้นสวรรค์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “NATA de coco” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกระบวนการหมักน้ำมะพร้าว ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยกิจกรรมของแบคทีเรียกรดน้ำส้ม (Acetic acid bacteria) ที่พบได้ทั่วไปในการทำน้ำส้มสายชูหมักตามธรรมชาติ แบคทีเรียกรดน้ำส้มนี้มีชื่อเรียกว่า Acetobacter xylinum ผลผลิตจากกระบวนการหมักของแบคทีเรียกรดน้ำส้มนี้คือ โพลิแซคคาร์ไรด์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “วุ้นน้ำมะพร้าว (วุ้นสวรรค์)” นั้นเอง แผ่นวุ้นนี้เป็นเซลลูโลส (Bacterial cellulose) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสเรียงต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะเบต้า -1,4 ไกลโคซิดิค (B-1,4 glycosidic bond) และกรดน้ำส้ม (กรดอะซิติก) ซึ่งมีรสเปรี้ยว
Lao
น้ำตาลอ้อย ของหวานประจำชาติ ลาว
Malaysia
โรตี ของหวานประจำชาติ มาเลเซีย
โรตี เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง นวดแล้วนำไปทอดหรือปิ้งเป็นแผ่นบางๆ รับประทานเป็นของหวาน หรือรับประทานพร้อมอาหารคาวอื่นๆ ก็ได้ ในประเทศไทยมักจะคุ้นกับโรตีที่ทอดเป็นแผ่นนุ่ม ราดด้วยนมข้นและน้ำตาลทราย เป็นของหวาน
คำว่า โรตี เป็นคำศัพท์ที่พบได้ในหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฮินดี, อุรดู, ปัญจาบี, โซมาลี, อินโดนีเซีย และ มลายู ซึ่งล้วนแต่มีความหมายว่า ขนมปัง
Myanmar
ข้าวต้มมัด ของหวานประจำชาติ พม่า
ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย
ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย
Philippines
เวลลาติ ของหวานประจำชาติ ฟิลิปปินส์
จานเด็ดของชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ไข่บาลุท แต่รับประกันได้ว่าไม่น่าสะอิดสะเอียน ทั้งนี้ ฮาโล ฮาโล ไม่มีสูตรการทำที่แน่นอน แต่ดูๆไปก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำแข็งใสของบ้านเรา โดยนำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา
Singapore
ลอดช่องสิงคโปร์ ของหวานประจำชาติ สิงคโปร์
ลอดช่อง.. .เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่หลายคนคงสงสัยว่าแล้วคำว่า สิงคโปร์ล่ะ มาจากไหน ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันจนติดปาก ถึงบริเวณที่ตั้งร้านนี้ ที่เป็นเจ้าแรก ในการทำ “ลอดช่องสิงคโปร์” นั่นเอง หากย้อนไปเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ร้านนี้บังเอิญไปตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงภาพยนต์สิงคโปร์ (เดิม) หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช และเมื่อลูกค้าจะไปทานก็มักจะเรียกว่า “ไปทานลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์” สุดท้ายก็เรียกให้สั้นลงว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” แทน
Vietnam
ขนมเบื้องญวน ของหวานประจำชาติ เวียดนาม
ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมี 2 แบบคือขนมเบื้องไทย โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้กุ้งแม่น้ำตัวโตสับละเอียดผสมกับพริกไทยและผักชีตำพร้อมมันกุ้ง นำไปผัดใส่น้ำตาล น้ำปลาหรือเกลือให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้ามะพร้าวใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม ฝอยทองและพลับแห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับกระเทียม พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่พริกขี้หนู นำไปรวนพอสุก ขนมเบื้องญวน เป็นขนมที่เข้ามาพร้อมกับเชลยชาวญวนในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งถูกกวาดต้อนมาระหว่างสงครามสยาม-เวียดนาม ขนมนี้ทำจากแป้งละลายกับไข่ให้ข้น ตักแป้งเทลงในกระทะที่ทาน้ำมันไว้ แผ่เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้แล้วพับกลาง
Thailand
บัวลอย ของหวานประจำชาติ ไทย
ตำนานบัวลอย จะว่ามีที่มาจากขนมบัวลอยก็ไม่เชิง แต่จะว่าไม่ใช่ก็ไม่ได้เหตุเกิด จากเมื่ออดีตกาลนานมาแล้วมีสตรีตั้งท้องต้องการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผัวโดยการทำขนมขาย แม้ผัวจะห้ามปราอย่างไรก็ไม่ฟัง เมื่อผัวไปทำงานก็จะทำขนมบัวลอยใส่เรือแล้วพาย ไปขายในคลอง ชาวบ้านที่จะซื้อก็จะตะโกน
“บัวลอยจ้า..บัวลอยมาทางนี้หน่อย" และด้วยขนมบัวลอยทำจากกระทิ เมื่อทำเสร็จแล้วก็เอาลงเรือขายเลยประกอบกับฝีมือการทำขนม บัวลอยที่มีความอร่อยจนติดอกติดใจชาวบ้าน จนใครๆก็เรียกเธอว่า
“บัวลอย”
ที่มา http://board.postjung.com/734281.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น